การแบ่งองค์ประกอบศิลปะ
แบ่งองค์ประกอบออกเป็น 2 แบบ ตามหน้าที่และความจำเป็น ดังนี้
องค์ประกอบที่เป็นพื้นฐานในการสร้างงานศิลปะ
1. จุด (Point)
เป็นสิ่งที่ปรากฏบนพื้นระนาบมีขนาดเล็ก ไม่มีความกว้าง ความยาว สูง หนา ลึก ทำให้เกิดเส้น รูปร่าง รูปทรง
2. เส้น (Line)
เส้นแสดงความหมายของภาพและให้ความรู้สึกตามลักษณะของเส้น เส้นที่เป็นพื้นฐานคือ เส้นตรงและเส้นโค้ง นอกจากนี้ยังมีเส้นแนวตั้ง นอน เอียง คลื่น เส้นประ เส้นขด เส้นหยัก ซึ่งจะได้อารมณ์ที่ต่างกัน
เส้นยังแบ่งได้อีกคือ
- เส้นที่เกิดขึ้นจริง (Actual line)
- เส้นเชิงนัย (Implied line) เป็นเส้นที่เกิดจากลากเส้นโยงในความคิด ความรู้สึกและจินตนการ
- เส้นที่เกิดจากขอบ (Line formed by edge) คือเส้นที่อยู่รอบนอกของวัตถุ
- เส้นสมมติ (Psychic line) เกิดจากความรู้สึกหรือจินตนาการทำให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเส้นสมมติ แต่ในความจริงไม่มีเส้น
3. รูปร่าง รูปทรง มวล (Shape, Form and Mass)
แบ่งออก 3 ประเภท คือ
- รูปทรงเลขาคณิต (Geometric form)
- รูปทรงอินทรียรูป หมายถึงรูปทรงของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติ
- รูปทรงอิสระ (Free form)
4. ลักษณะผิว (Texture)
ลักษณะภายนอกของวัตถุต่างๆ ที่สามารถจับต้องได้ สัมผัส หรือมองเห็นแล้วเกิดความรู้สึกได้
การสัมผัสที่ได้รับรู้จากลักษณะผิว เกิดจากการสัมผัสทางกายหรือจับต้องผิววัตถุโดยตรง (Tactile texture) เพื่อจะทราบว่าละเอียด ขุรขระ มัน ด้าน แต่การสัมผัสอีกอย่างหนึ่งคือการสัมผัสทางการเห็น (Visual texture) ซึ่งให้ค่าความรู้สึกในระดับที่สูงกว่า
5. ส่วนสัด (Proportion)
ความสัมพันธ์ในเรื่องขนาด รูปทรง เนื้อที่ ความเข้ม ความหนักเบาของส่วนต่างๆ และความสัมพันธ์เมื่อเทียบเคียงกับวัตถุอื่นที่อยู่แวดล้อมให้มีความเหมาะสมกับความเป็นจริงตามธรรมชาติหรือเหมือนต้นแบบ
6. สี (Colour)
ปรากฏการณ์ที่แสงส่องกระทบวัถตุแล้วสะท้อนคลื่นแสงบางส่วนเข้าตา เมื่อระบบประสาทตาประมวลผลจึงรับรู้ว่าวัตถุนั้นมีขนาด รูปร่าง ลักษณะผิวและสีเป็นอย่างไร การที่เรามองเห็นวัตถุมีสีต่างๆ เกิดจากการที่ผิวของวัตถุมีคุณสมบัติการดูดกลืนและสะท้อนแสงได้แตกต่างกัน เช้น กลีบดอกทานตะวันจะสะท้อนเฉพาะคลื่นแสงที่ประสาทตาประมวลผลเป็นสีเหลืองเท่านั้น ส่วนผงถ่านไม่สะท้อนคลื่นแสงในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นออกมาเลยจึงเห้นเป็นสีดำ
สีมีอิทธิพลต่อจิตใจมนุษย์ ทำให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกได้ต่างกันตามอิทธิพลของสี เช่น ร้อน สดชื่น เศร้า ตื่นเต้น
7. น้ำหนักหรือค่าความอ่อนแก่ (Tone)
ระดับความเข้มที่แตกต่างกันของค่าสีหรือความอ่อนแก่ของสีที่สายตาสามารถรับรู้ได้จากการมองภาพหรือวัตถุต่างๆ เช่นสีของภูเขาที่อยู่ใกล้จะมีสีเข้มกว่าภูเขาที่อยู่ไกลออกไป ระดับน้ำหนักของสีมีค่าแตกต่างกันมากมายจนไม่สามารถแบ่งให้แน่นอนได้
8. แสงและเงา (Light and Shade)
ความแตกต่างของน้ำหนักสีที่ปรากฏบนวัตถุ ซึ่งเกิดจากการที่ผิวของวัตถุแต่ละส่วนได้รับแสงไม่เท่ากัน เมื่อแสงส่องกระทบผิววัตถุแล้วสะท้อนคลื่นแสงบางส่วนเข้าตาจึงทำให้เราได้เห็นสีและรูปทรงของวัตถุนั้นได้ บริเวณที่แสงไม่สามารถส่องผ่านก็จะเกิดเป็นเงาตกทอดไปบนผิวส่วนอื่นๆยองวัตถุหรือบนวัตถุอื่นๆ ทำให้เห็นน้ำหนักของสีที่แตกต่างกัน
9. ที่ว่าง (Space)
บริเวณที่ไม่มีอะไรเลย ไม่มีความหมาย ไม่มีความกว้าง ความยาว ความลึก หาขอบเขตไม่ได้ แต่ในงานทัศนศิลป์ คำว่าที่ว่างมีความหมาย เช่น ระยะห่างของรูปร่าง รูปทรงในงานจิตรกรรม ช่องว่างของรูปทรงในงานประติมากรรม
องค์ประกอบที่เป็นหลักในการสร้างงานศิลปะ
1. การซ้ำ (Repetition)
2. จังหวะ (Rhythm)
3. ลวดลาย (Pattern)
4. การลดหลั่น (Gradation)
5. ทิศทาง (Direction)
6. ความกลมกลืน (Harmony)
7. การตัดกัน (Contrast)
8. ความสมดุลย์ (Balance)
9. เอกภาพ (Unity)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เนื้อหาพอสมควร!น่าจะมีรูปประกอบจะเป็นดีมาก ก็ok ดีอ่ะ
ตอบลบ